วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง

1. ตัวอย่างโครงงานเรื่อง พัฒนาสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Macromedia Flash

ความเป็นมาของโครงงาน

            เนื่องจากปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญโรงเรียนต่างๆจึงได้นำ เทคโนโลยยีมาพัฒนาในการเรียนการสอนเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจมากขึ้นทำให้มีแรงดึงดูดทำให้นักเรียนสนใจเรียน จึงทำให้ตั้งใจเรียนและไม่ทา ให้เกิดปัญหาการเรียนที่ไม่เข้าใจ

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

1. เพื่อสร้างสื่อการสอนต่าง ๆ ด้วยโปรแกรม Macromedia Flash
2.ศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างการ์ตูนอะนิเมชั้น
3. ศึกษาการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์
4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหาการตัดสินใจรวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน

ขอบเขตของการดำเนินการ

การทำโครงงานของพวกเราในคร้ังนี้ก็เพื่อเป็นการฝึกฝนการใช้ทักษะทาง คอมพิวเตอร์เพราะว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารมีหลากหลายมาก และการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของสื่อการเรียนการสอน ด้วยโปรแกรม Macromedia Flash ก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการที่จะรับรู้ข้อมลูข่าวสารที่รวดเร็วฉับไว มีแรงดึงดูดในการเรื่องรู้เรื่องต่าง ๆและสามารถพัฒนาปรับเปลี่ยนเนื้อหาเรื่องที่จะศึกษาเพื่อให้มีการอัพเดทเนื้อที่มีความทันสมัยอีกด้วย

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

        1.ความเป็นมาของ flash
        2.โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง Animation
        3.ประโยชน์ของสื่อการสอนAnimation
        4.หลักการสอน A-Z

วิธีดำเนินการ

- เลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำ
- ทำ Story board
- ลงมือทำ flash
- ใส่เสียง
- ตรวจทานความเรียบร้อย

ผลการดำเนินการ

ได้สร้างสื่อการสอนA-Zโดยใช้โปรแกรมflash ขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อนา ไปใช้สอนเด็กในระดับชั้นปฐมวัยเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผลที่ได้ออกมาคือสามารถนำ ไปใช้ได้ในโรงเรียนอนุบาล

สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

จากการจัดทำโครงงานพบว่าการพัฒนาสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Macromedia Flash เรื่องA-Z สามารถนา เอาไปใช้ได้ตามจุดประสงค์ที่เราตั้งไว้คือนำ ไปใช้สอนเด็กระดับปฐมวัยได้และเด็กๆมีความสนใจมากเนื่องมีการ์ตูนมีเสียงและสามารถกดซ้ำคำเดิมได้

เอกสารอ้างอิง
พัฒนาสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Macromedia Flash
                http://110.164.64.200/ftp/st26444/Project.pdf
การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วย Flash
                 http://www.caistudio.info/cai/techno/animation/FlashAnt.html
แนวทางการสร้างสื่อA-Z แหล่งที่มา
http://www.youtube.com/watch?v=FF4J7mc3qGI
http://www.youtube.com/watch?v=cK7Cupob_CY


ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงาน

            โครงงานน่าสนใจเหมาะกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย แต่น่าจะมีการแทรกเนื้อหาเข้าไปมากกว่านี้ เช่น ประโยคตัวอย่างคำศัพท์นั้นๆ




2. ตัวอย่างโครงงาน Animation เรื่อง Love Is Color Blind


ความเป็นมาของโครงงาน

                ในอดีตการเรียนการสอนในโรงเรียนจะเป็นรูปแบบการใช้กระดานดำในการถ่ายทอดความรู้จากอาจารย์ผู้สอนให้แก่นักเรียน แต่เมื่อผู้เรียนได้รับความรู้จากกระดานดำเพียงอย่างเดียวทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายกับวิชาที่เรียน ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตมนุษย์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานศึกษาต่างๆมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีส่วนร่วมการพัฒนาการเรียนการสอน
                คณะผู้ดำเนินงานได้นำเสนอ animation love is color blind ในรูปแบบอนิเมชัน 3 มิติ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักและการให้อภัยของเพื่อน

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

                เพื่อสร้างงาน animation เกี่ยวกับความรักและการให้อภัยของเพื่อน เรื่อง Love Is Color Blind


ขอบเขตของการดำเนินการ

- นำเสนองานด้วยภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ เรื่อง Love Is Color Blind
ระยะเวลาที่ใช้ในการนำเสนอโครงงาน 8.39 นาที
ใช้ตัวละครหลักในการดำเนินเรื่อง 4 ตัว
- Animation Love Is Color Blind เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักและการให้อภัยของเพื่อน

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

-   สื่อการสอนเรื่อง มารยาทการเข้าสังคม ของโสภิตา พงษ์อร่าม ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจคณะบริหารธุรกิจ มหาลัยสยาม ได้พัฒนาโดยโปรแกรม flash8
-   โปรแกรมคนเก่งเรียนรู้เครื่องหมายของปัทมาวดี ทองตรัง ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจคณะบริหารธุรกิจ มหาลัยสยาม ได้พัฒนาโดยโปรแกรม flash8


วิธีดำเนินการ

1.วางแผนแนวทางงานทั้งหมด
2.ออกแบบตัวละคร
3.สร้างกระดานภาพนิ่ง( story board ) กำหนดมุมกล้อง
4.บันทึกเสียง ให้เข้ากับตัวละครที่สร้างขึ้น
5.ทำภาพเคลื่อนไหวตามที่กำหนดไว้ใน story board
6.Render งานอนิเมชันที่ทำภาพเคลื่อนไหวเสร็จแล้วเป็นไฟล์ชนิด TARGA
7.สร้างฉากหลังจากโปรแกรม Adobe Illustrator CS3  เป็นไฟล์ชนิด AI
8.นำฉากหลังกับตัวละครมารวมกันในโปรแกรม Adobe After Effect CS3 แล้ว render เป็นไฟล์ชนิด AVI
9.นำไฟล์ AVI มาตัดต่อและใส่เสียงต่างๆด้วย Adobe Premiere Pro CS3
10.ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
11.นำเสนอโครงงาน


ผลการดำเนินการ

                ได้ผลงาน animation  3 มิติ เรื่อง Love Is Color Blind ซึ่งมีข้อคิดต่างๆที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

                จากการจัดทำโครงงานพบว่าการทำ animation  เรื่อง Love Is Color Blind ทำให้เกิดความเพลิดเพลินสนุกสนานไปกับเรื่องและตัวละครในเรื่อง ทำให้รู้ถึงข้อคิดต่างๆภายในเรื่อง

เอกสารอ้างอิง

http://bc.siam.edu/superman/137-411/SampleOutlineAnimation1-3.pdf#page=2&zoom=auto,0,612


ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงาน

                    ควรมีเนื้อหาและสอดแทรกแง่คิดที่มีสาระมากกว่านี้



3.ตัวอย่างโครงงานเรื่อง สุภาษิตมหาสนุก


ความเป็นมาของโครงงาน

เนื่องจากปัจจุบันสุภาษิต สํานวนไทย คําพังเพย ไม่ค่อยมีการนํามาใช้กันมากบางครั้งผู้ที่
นํามาใช้ก็ใช้ไม่ถูก หลายคนไม่รู้ไม่เข้าใจความหมาย อาจทําให้ความหมายของสุภาษิต สํานวนไทย
คําพังเพย เหล่านั้นมีความหมายที่ผิดแปลกออกไป จนอาจจะกลายเป็นคําวิบัติได้
            ทางกลุ่มจึงจัดทําโครงงานนี้ขึ้นเพื่อศึกษารวบรวมสุภาษิต สํานวน คําพังเพย ตลอดจนศึกษาความหมาย เพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียน และผู้ที่สนใจเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความเป็นไทย   เพื่อเยาวชนและหวงแหนภาษาของชาติ


วัตถุประสงค์ของโครงงาน

1. เพื่ออนุรักษ์สํานวนสุภาษิต คําพังเพย ที่เป็นไทยไว้
2. เพื่อเผยแพร่สํานวนสุภาษิต คําพังเพย แก่เด็กและผู้สนใจ
3. เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสํานวนสุภาษิต คําพังเพย
4. เพื่อนําความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปทําชิ้นงาน
7. เพื่อเกิดการทํางานร่วมกันภายในสมาชิกกลุ่ม


ขอบเขตของการดำเนินการ

- สามารถรับรู้ความหมายของสํานวนสุภาษิตได้
            - การใช้เอนิเมชั่นเพื่อสร้างเป็นสื่อการเรียนการสอน
            - สามารถอธิบายความหมายตามภาพได้
            - ลดการใช้สํานวนสุภาษิตที่ผิด



เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


1.      Macromedia Flash 8

โปรแกรม Flash เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย, ภาพเคลื่อนไหว
(Animation), ภาพกราฟิกที่มีความคมชัด เนื่องจากเป็นกราฟิกแบบเว็คเตอร์(Vector), สามารถเล่น
เสียงและวีดิโอ แบบสเตริโอได้, สามารถสร้างงานให้โต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive Multimedia)
มีฟังก์ชั่นสําหรับการเขียนโปรแกรม (Action Script) และยังทํางานในลักษณะ CGI โดยเชื่อมต่อกับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้มากมาย เช่น ภาษา PHP, JSP, ASP, ASP.NET, C/C++ , - C# , C#.NET,VB , VB.NET, JAVA และอื่นๆ โดยเฉพาะข้อดีของโปรแกรม Flash คือ ความสามารถในการบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็ก มีผลทําให้แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังแปลงไฟล์ไปอยู่ในฟอร์แมตอื่น ได้หลากหลาย เช่น avi, mov, gif, wav, emf, eps, ai, dxf, bmp , jpg, gif, png เป็นต้น
โปรแกรม Flash เริ่มมีชื่อเสียงประมาณปี พ.ศ. 2539 จนถึง ปัจจุบันได้ถูกนํามาใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีเว็บทําให้การนําเสนอทําได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนั้น โปรแกรม Flash ยังสามารถสร้างแอบฟลิเคชั่น (Application) เพื่อใช้ทํางานต่างๆ รองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และทํางานได้กับหลายๆ แฟลทฟอร์ม (Platform)
โปรแกรม Adobe Flash CS3
เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย, กราฟิกสำหรับงานเว็บ ผลงานที่พัฒนาด้วย Flash มีทั้งสื่อภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สื่อมัลติมีเดีย ตลอดจนสื่อที่มีระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive Multimedia) เช่น การสนองการกดปุ่มสั่งงาน หรือการป้อนข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้อีกด้วย จุดเด่นของโปรแกรมนอกจากจะสร้างภาพที่มีความคมชัดสวยงามแล้ว ยังใช้สร้างภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ซึ่งเป็นภาพลายเส้น ซึ่งแตกต่างจากการสร้างภาพแบบบิตแมพตรงที่ไฟล์ภาพที่ได้จะมีขนาดขนาดเล็กมาก และเมื่อขยายขนาดของภาพให้ใหญ่ขึ้น ภาพก็จะยังคงความคมชัดเหมือนเดิมทุกประการ ด้วยคุณสมบัตุเช่นนี้จึงนิยมนำไฟล์ที่ได้ไปใช้บนเว็บ เนื่องจากสามารถโหลดผ่านเว็บเบราเซอร์ได้รวดเร็ว มีความคมชัดสูงแม้ว่าจะถูกขยายขนาด ทั้งนี้สามารถนำเสนอได้ทั้งบนเว็บ หรือผ่านโปรแกรม Flash Player หรือสร้างเป็น exe file เพื่อเรียกใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถแปลงไฟล์ไปอยู่ในฟอร์แมตอื่นได้ด้วย เช่น Animation Gif, AVI, QuickTime

Flash มีหน้าต่างการทำงานลักษณะเดียวกับโปรแกรมอื่นๆ ที่ทำงานบน Windows ดังนี้
  • Title Bar แถบชื่อเรื่อง เป็นส่วนแสดงชื่อโปรแกรม และชื่อไฟล์ที่กำลังทำงานอยู่ รวมถึงปุ่มควบคุมหน้าต่างโปรแกรม
  • Menu Bar แถบเมนูแสดงรายการคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม
  • Toolbar แสดงปุ่มเครื่องมือการทำงานมาตรฐานของโปรแกรม เช่น ปุ่มเปิดงานใหม่, เปิดไฟล์เอกสาร, จัดเก็บไฟล์ เป็นต้น
  • Toolbox แสดงปุ่มเครื่องมือเป็นส่วนรวบรวมเครื่องมือชนิดต่าง ๆ ในการสร้าง ปรับแต่ง และแก้ไขชิ้นงาน ที่อยู่ใน Movie โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มเครื่องมือ กลุ่มมุมมอง กลุ่มกำหนดสี และกลุ่มออบชั่นของเครื่องมือ

  • Timeline หน้าต่างแสดงเส้นควบคุมเวลาสำหรับการนำเสนอผลงาน ประกอบด้วยส่วนทำงานเกี่ยวกับ Layer และ Timeline
                 
         เราแบ่งไทมไลน์เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่
  • ส่วนแสดงเลเยอร์ (Layer) ซึ่งแต่ละเลเยอร์เปรียบเหมือนแผนใสที่สามารถวางภาพหรือออบเจ็กต์ได้ โดยแต่ละเลเยอร์นั้นแยกเป็นอิสระต่อกัน แต่ประกอบกันเป็นชันงานเดียว (เราจะกล่าวถึงเรื่องเลเยอร์เพิ่มเติมภายหลัง)
  • ส่วนเฟรม (Frame) ที่แสดงช่องเฟรมต่างๆ ซึ่งทำงานเหมือนกับเฟรมที่ประกอบกันเป็นภาพยนตร์โดยเมื่อมีการนำเฟรมเหล่านี้มาแสดงอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหว ทั้งนี้ Frame จะแสดงผลอ ทีละเฟรม โดยจะมีหัวอ่าน (Playhead) ที่เป็นส้นสีแดงคอยบอกตำแหน่งว่ากำลังทำงานอยู่ที่เฟรมใด
                       
              เราสามารถเปิด/ปิดไทมไลน์นี้ได้โดยคำสั่ง View > Thmeline ให้มีเครื่องหมายถูกอยู่หน้าคำว่า Thmeline เพื่อเปิดไทมไลน์ และใช้คำสั่ง View > Thmeline อีกครั้งยกเลิกเครื่องหมายถูกเพื่อปิดไทมไลน์ซึ่งเราอาจเปรียบการทำงานของไทมไลน์เหมือนกับม่วนฟิลม์ ในขณะที่สเตจคือส่วนที่แสดงแต่ละเฟรมในม้วนฟิลม์นั้นตามลำดับที่กำหนดไว้
              เราสามารถแบ่งไฟล์ชิ้นงานที่สร้างเป็นส่วนย่อยๆ ที่เรียกว่าฉากหรือซีน (Scene) โดยในโดยในมูฟวี่หนึ่งๆ จะประกอบด้วยซีนหรือหลายซีนก็ได้ เนื่องจากจะทำงานได้ทีละซีนนั้นจึงต้องเลือกซีนที่จำทำงานด้ยโดยคลิกที่เมนู Window > Other Panels > Scene หรือเลือกใช้ปุ่ม  การแทรกซีนสามารถแทรกได้โดยเลือกที่เมนูคำสั่ง  Inserts > Scene1
                         
  • พาเนล (Panels)
    พาเนลคือหน้าต่างทีรวบรวมเครื่องมือต่างๆ   สำหรับใช้ในการปรับแต่งออบเจ็กต์  ซึ่งใน Flash  ได้มีการจัดพาเนลต่างๆ ไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ตามหน้าที่ของมันให้เราเรียกใช้ได้  พาเนลสำคัญที่ควรรู้จักดังนี้
  • Property Inspector  เป็นพาเนลที่ใช้แสดงคุณสมบัติต่าง ๆ ของออบเจ็กต์ที่เราคลิกเลือก  ซึ่งเราสามารถปรับแต่งคุณสมบัติ้หล่านี้ได้  ทั้งนี้รายละเอียดที่  Property Inspector จะเปลี่ยนไปตามออบเจ็กต์ที่เลือก  โดยสามารถเยกเปิดใช้งาน  Property Inspector ด้วยคำสั่ง  Window > Properties >Properties หรือกดคีย์ลัด <Ctrl+F3>
            
พาเนล Filters  เป็นพาเนลที่ใช้ปรับแต่งหรือเป็นการใส่เอ็ฟเฟ็คให้กับตัวอักษร มูฟวี่คลิป  และปุ่มกด  โดยเราสามารถเรียกเปิดใช้งานพาเนลFilters ด้วยคำสั่ง  Window > Properties > Filters

 พาเนล Color  เป็นพาเนลที่เลือกใช้สีและผสมสีตามที่ต้องการ  ซึ่งจะนำไปใช้ปรับแต่งสีให้กับทั้งภาพวาดและตัวอักษรได้อย่างง่ายดาย  โดยมีให้เลือกชีถึง  2 แท็ด้วยกันคือ  Color Mixer ( ใช้ผสมสีเองตามต้องการ) และ Color Swatches  (ใช้เลือกสีจากจานสีตามที่โปรแกรมกำหนดมาให้) โดยเราสามารถเรียกเปิดใช้งานพาเนล  Color ด้วยคำสั่ง Window > Color Mixer
                                  
  • Library หน้าต่างควบคุมเกี่ยวกับชุดวัตถุของโปรแกรม ได้แก่ Symbols, Buttons, Movies

  • Work Area พื้นที่ทำงาน ประกอบด้วยพื้นที่ว่างสำหรับวางวัตถุแบบชั่วคราว และพื้นที่ของเวที (Stage)
Stage พื้นที่ส่วนที่ใช้ในการวางวัตถุต่างๆ หรืออาจจะเรียกว่า "เวที" เมื่อมีการนำเสนอผลงานจะแสดงเฉพาะวัตถุบน Stage เท่านั้น
        พื้นที่สีขาวบริเวณกลางจอคือ สเตจ เป็นพื้นที่ใช้จัดวางออบเจ็กต์ต่าง ๆ ที่ต้องการแสดงให้เห็น ในชิ้นงาน ส่วนพื้นที่สีเทาด้านนอกบริเวณสีขาวคือ Pasteboard เป็นบริเวณที่สามารถนำออบเจ็กต์ต่าง ๆ มาวาง พักไว้หรือวางซ่อนไว้ได้เพราะบริเวณนี้จะไม่แสดงผลเวลาที่เรา Export Movie เป็นไฟล์ .SWF

เราสามารถเปิด/ปิดพื้นที่การทำงานโดยสั่ง View > Work Area ให้มีเครื่องถูกหน้าคำว่า Work Area เพื่อปิดพื้นที่การทำงาน (หรือจะกดคีย์ลัด <Ctrl>+<Shift>+<W> ก็ได้)


การสร้างภาพเคลื่อนไหว

การสร้างภาพเคลื่อนไหวไปตามทิศทางต่าง ๆ หรือมีการเพิ่ม ลดขนาด เปลี่ยนแปลงของรูปร่าง รูปทรง การให้ปรากฎหรือการจางหายไปของรูปที่อยู่ในชิ้นงาน ซึ่งเราจะเรียกภาพหรือลักษณะงานเหล่านี้ว่า "แอนิเมชั่น" (Animation) ที่นิยมนำไปสร้างงานพรีเซนต์หรือบนเว็บไซต์ต่าง ๆ นั่นเอง
การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วย Timeline Effects เป็นการเคลื่อนไหวจากแบบสำเร็จรูปที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้ การเปิดใช้งาน ให้คลิกเมนู Insert> Timeline Effects

Timeline Effects มีคำสั่งย่อยให้เลือก ดังนี้

1.Assistants กลุ่มคำสั่ง ที่ใช้สร้างสำเนาและใส่เงาให้กับชิ้นงานในเฟรม
2.Effects กลุ่มคำสั่งที่ใช้ใส่เอฟเฟ็กต์ให้ภาพ
3.Tranform/Transition คำสั่งที่ใช้กำหนดการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนรูปร่างภาพ

1. Assistants
คำสั่ง Assistants จะมีคำสั่งย่อยที่ใช้ในการทำสำเนา และตกแต่งชิ้นงานอยู่ 2 คำสั่งด้วยกันคือ Copy To Grid และ Distrubuted Duplicate

2. Effect
Effect จะแสดงผลออกมาเป็นภาพเคลื่อนไหวซึ่งเมื่อใช้คำสั่งย่อยภายใน Effect โปรแกรมจะสร้างเฟรมขึ้นมารองรับชิ้นงานโดยอัตโนมัติ สำหรับคำสั่งย่อยของ Effect มีดังนี้ Blur, Drop Shadow, Expand และ Explode
  
3. Tranform/Transition
สำหรับคำสั่งนี้จะมีคำสั่งย่อย 2 คำสั่งด้วยกันคือ Transform และ Transition


2.สุภาษิตไทย

สำนวนเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของภาษาไทย เพราะเป็นคำพูดที่กลั่นกรองขึ้น เพื่อความสละสลวยของภาษาเป็นถ้อยคำที่คมคายกว่าคำพูดธรรมดา เป็นคำพูดที่รวมใจรวมความยาวๆให้สั้นลงได้ ก็จะทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจง่าย ๆ ฉะนั้นการศึกษาถ้อยคำประเภทนี้ไว้ เพื่อใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่จะพูดจึงมีความจำเป็น


ลักษณะของสำนวน

             สำนวนไทยไม่ว่าจะเป็นสำนวนทั่วไป สุภาษิตหรือคำพังเพยล้วนมีความไพเราะสละสลวยอยู่ในตัว ถ้อยคำที่นำมาเรียบเรียงเป็นสำนวน มักใช้คำที่คล้องจองกัน ฟังดูเหมือนกับบทร้อยกรอง หรือบทเพลง เช่น การกินการอยู่ใครไม่สู้พ่อการพ่ายการถ่อพ่อไม่สู้ใคร น้ำมาปลากินมดน้ำลดมดกินปลา เป็นต้น 
          
ธรรมชาติของภาษาไทย เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ หรือมี"ระดับเสียง" คือมีเสียงสูงเสียงต่ำ เป็นระดับเหมือนเสียงดนตรี ดังนั้นเมื่อเวลาพูด คนที่มาจาก ภาษาที่ไม่มีระดับเสียง เขาจึงฟังภาษาของเราว่าคล้ายกับภาษาเสียงดนตรี คือมีเสียงสูง เสียงต่ำหลายระดับ ซึ่งแตกต่างจากภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ในภาษาอังกฤษ เขาไม่มีวรรณยุกต์บอกระดับเสียงสูงเสียงต่ำ เขาจึงใช้การเน้นพยางค์ในคำ หรือเน้นคำในประโยคเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ฝรั่งใช้การพูดของเขาเช่นนั้น ดังนั้นเวลาที่เราจะพูดภาษาอังกฤษ เราจำเป็นต้องเลิกนึกถึงเสียงสูงเสียงต่ำ แล้วคิดถึงแต่การเน้นคำเน้นพยางค์แทน จึงจะพูดกับเขารู้เรื่อง 
          การพูดภาษาไทยนั้น ไม่ได้ใช้คำคล้องจองเพื่อความไพเราะเพราะพริ้งอยู่เฉพาะเพียงสำนวนเท่านั้น แม้ในการพูดจาปรกติธรรมดาทั่วไป คนไทยสมัยก่อนก็มักจะใช้คำคล้องจองโดยการเติมสร้อยคำเข้าไป เช่น เมื่อต้องการพูดคำว่า "บ้าน" ก็พูดว่า บ้านช่อง หรือ บ้านช่องห้องหอ ฯลฯ ลักษณะการพูดแบบนี้เป็นการพูดปกติวิสัยของคนทั่วไป แต่ในปัจจุบัน ลักษณะการพูดแบบนี้ได้ลดน้อยลงและสูญหายไปเกือบหมดแล้ว ยังอาจพบได้บ้างตามหมู่บ้านในชนบท ซึ่งน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง สมัยก่อนเมื่อได้ฟังคนเฒ่าคนแก่นั่งคุยกัน ทำให้รู้สึกว่าฟังไม่น่าเบื่อ ไม่ใช่เพราะว่าคนแก่เหล่านั้นพูดเสียงอ่อนเสียงหวาน แต่ท่านพูดกันด้วยถ้อยคำสำนวนแบบไทยๆ ฟังรื่นหูกว่าภาษาใดๆในโลกนี้ หากพวกเราช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ให้อยู่ยืนยาวไปได้ ก็เสมือนหนึ่งเราได้ช่วยกันรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญเอาไว้ได้นั้นเอง ชาติไทยเราก็คงจะไม่ถูกกลืนโดยวัฒนธรรมของต่างชาติเป็นแน่


มูลเหตุที่ทำให้เกิดสำนวนไทย

          ๑.) เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตื่นแต่ไก่โห่ น้ำซึมบ่อทราย ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ปลาหมอตายเพราะปาก
 , แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ เป็นต้น 
          ๒.) เกิดจากการกระทำ เช่น แกว่งเท้าหาเสี้ยน ปลูกเรือนคร่อมตอ พายเรือคนละที ชุบมือเปิบ ปากว่ามือถึง ปิดทองหลังพระ เป็นต้น
 
          ๓.) เกิดจากศาสนา เช่น ขนทรายเข้าวัด ตักบาตรถามพระ ทำคุณบูชาโทษ คว่ำบาตร ผ้าเหลืองร้อน แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร เป็นต้น
 
          ๔.) เกิดจาก นิยาย นิทาน ตำนาน และ พงศวดาร เช่น ลูกทรพี ปากพระร่วง กบเลือกนาย กระต่ายตื่นตูม เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ชักแม่น้ำทั้งห้า กิ้งก่าได้ทอง เป็นต้น
          ๕.) เกิดจากแบบแผนประเพณีและความเชื่อ เช่นผีซ้ำด้ำพลอย กงกำกงเกวียน กระดูกร้องได้ กรรมตามทัน คนตายขายคนเป็น เป็นต้น
 
          ๖.) เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตกกระไดพลอยโจน ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ดับไฟต้นลม เป็นต้น
          ๗.) เกิดจากการละเล่นหรือกีฬา เช่น รุกฆาต ไม่ดูตาม้าตาเรือ เข้าตาจน ไก่รองบ่อน เป็นต้น
          ๘.) เกิดจากความประพฤติ เช่น หาเช้ากินค่ำ กินข้าวร้อนนอนตื่นสาย ตำข้าวสารกรอกหม้อ ขี้เกียจสันหลังยาว เป็นต้น
          ๙.) เกิดจากอวัยวะ เช่น เส้นใหญ่ ตาเหลือง ตีนแมว ปากบอน ตีนเท่าฝาหอย หัวหกก้นขวิด เป็นต้น


 สุภาษิต

คือ สำนวนโวหารที่แสดงถึงความคิดสูง และสืบทอดมาแต่โบราณ แสดงถึงความเจริญของวัฒนธรรมทางด้านภาษา ซึ่งแต่ละภูมิภาค แต่ละท้องถิ่น และแต่ละชุมชน กระทั่งแต่ละเหล่าอาชีพก็มีสำนวนของใครของมันคล้ายกันบ้าง แตกต่างกันไปบ้าง ทั้งนี้เพราะที่มาไม่เหมือนกันแต่โดยวามหมายมักเทียบเคียงกันได้ แม้แต่ภาษาต่างวัฒนธรรมก็ยังมีส่วนคล้ายกันในทางอุปมา


วิธีดำเนินการ

1. วางแผนขั้นตอนในการทํางานและศึกษาความเป็นไป
            2. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสํานวนสุภาษิต
            3. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมและเครื่องมือที่ใช้
 - ศึกษาการสร้างงานด้วยโปรแกรม Macromedia Flash 8
 - ศึกษาการสร้างงานด้วยโปรแกรม Adobe Flash CS3
4. วางโครงเรื่อง เขียนเรื่องย่อ และบทภาพยนตร์                
            5. ออกแบบตัวละครและฉากหลัง
            6. สร้างงานโดยใช้โปรแกรมที่ศึกษา แก้ไขและเพิ่มให้สมบูรณ์
            7. ทดสอบและใช้งานจริง
            8. รายงานผลการดําเนินงาน
           
ผลการดำเนินการ

1. ได้รับความถูกต้อง และรวดเร็วในการศึกษาสุภาษิต
2. ช่วยให้ลดเวลาในการทําความเข้าใจ
3. ช่วงให้ลดความซ้ำซ้อนในการสื่อสาร
            4. ได้รับความพึงพอใจจากผู้เรียนและผู้ที่สนใจ


สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

สํานวนและสุภาษิตไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าสะท้อนให้เห็นความคิด ความเชื่อ และค่านิยมของสังคมไทยที่สั่งสมสืบทอดมาแต่ในอดีต สมควรที่จะให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขซึ่งในปัจจุบันได้มีการพูดและนําสํานวนและสุภาษิตดังกล่าว ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานต่างๆ  อย่างกว้างขวางและยังสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง เช่น มีสลึง พึงบรรจบให้ครบบาท
การสร้างเอนิเมชั่นเกี่ยวกับสุภาษิตนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดึงดูดให้คนไทยได้สนใจและเป็นทางเลือกใหม่ทางเลือกหนึ่งที่จะศึกษาหาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


เอกสารอ้างอิง

เทียมตา คำภาเขียว ๒๕๕๔.   สุภาษิตมหาสนุก(ออนไลน์) แหล่งที่มา : http// www.technosrira
               cha.ac.th/BusinessCompuetr/สุภาษิตมหาสนุก/สารบัญ.pdf.   ๓๐  กรกฎาคม ๒๕๕๗.


ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงาน

            ควรยกสถานการณ์ตัวอย่างของสำนวนแต่ละสำนวนเพื่อให้ผู้ชมมีความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้ถูกมากขึ้นและควรมีสำนวนให้เยอะกว่านี้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น